วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

Shortcut Key

Shortcut Key ของ Windows .......






เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Windows ง่ายๆ ด้วยการจดจำ และเรียนรู้การใช้งาน Keyboard ผสมผสานกับการใช้งานเม้าส์ รับรองคุณจะทำงยิ่งขึ้น แค่ใช้ปุ่มคีย์ลัดในการทำงาน ดังต่อไปนี้



ปุ่ม Windows ถ้าใช้เดี่ยว ๆ : จะเป็นการแสดง Start Menu
ปุ่ม Windows + D : ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ทั้งหมด
ปุ่ม Windows + E : เปิด windows explore
ปุ่ม Windows +F : เปิด Search for files
ปุ่ม Windows + Ctrl+F : เปิด Search for Computer
ปุ่ม Windows + F1 : เปิด Help and Support Center
ปุ่ม Windows + R : เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN
ปุ่ม Windows + break : เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties
ปุ่ม Windows +shift + M : เรียกคืนหน้าต่างที่ถูกย่อลงไปทั้งหมด
ปุ่ม Windows + tab : สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar
ปุ่ม Windows + U : เปิด Utility Manager




Shortcut Key .......



>> CTRL+A : เลือกไฟล์ หรือข้อความทั้งหมด
>> CTRL+C : ก๊อปปี้ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
>> ตัด (cut) :ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
>> วาง (paste) :ไฟล์ หรือข้อความที่ก๊อปปี้ไว้
ยกเลิกการกระทำที่ผ่านมาล่าสุด
>> Ctrl + Ins : Copy selected item.
>> Ctrl + Esc : เรียกเมนู Start.
>> Alt + F : File menu options in current program.
>> Alt + E : Edit options in current program.
>> Shift + Del : Cut selected item.
>> Shift + Ins : Past.
>> Home : Goes to beginning of current line.
>> End : Goes to end of current line.
>> Shif + ปุ่มลูกศร : เลือกข้อความ โดยใช้ปุ่มลูกศรช่วยในการทำตำแหน่ง แถบดำ เลือก ซ้าย - ขวา - บน - ล่าง
>> Shif + End : เลือกข้อมูลจาก cursor ไปยังตัวสุดท้ายของบรรทัด
>> Shif + Home : เลือกข้อมูลจาก cursor ไปยังตัวแรกของบรรทัด
>> Alt + Tap : เปลี่ยนสลับหน้าต่างโปรแกรมที่เปิดอยู่
>> Tap : ใช้ในการเลือก ปุ่ม หรือ ช่องข้อความต่างๆ
>> Esc : ยกเลิกการเรียกใช้คำสั่ง




>>F1 : เรียก Help หรือ Office Assistant
>>F2 : ย้ายข้อความ หรือกราฟิกต่างๆ
>>F3 : แทรกข้อความอัตโนมัติ (AutoText)
>>F4 : ทำซ้ำสำหรับแอคชั่นการทำงานล่าสุดของผู้ใช้
>>F5 : เลือกคำสั่ง Go To (เมนู Edit)
>>F6 : กระโดดไปยังกรอบหน้าต่างถัดไป
>>F7 : เลือกคำสั่งตรวจสอบคำสะกด (Spelling ในเมนู Tools)
>>F8 : ขยายไฮไลต์ของการเลือกข้อความ
>>F9 : อัพเดตฟิลด์ต่างๆ ที่เลือก
>>F10 : กระโดดไปเมนูบาร์
>>F11 : กระโดดไปยังฟิลด์ถัดไป
>>F12 : เลือกคำสั่ง Save As (เมนู File)




วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

Hot key!

การใช้ HOT KEY ....{{{>O<}}}...





ารใช้งานหน้าต่างแต่ละหน้าต่าง ( WINDOWS)

* ALT+TAB : เปลี่ยนไปที่โปรแกรมถัดไป
*ALT+SHIFT+TAB : เปลี่ยนไปที่โปรแกรมก่อนหน้า
* CTRL+ESC : แสดงเมนู เริ่ม ของ Windows
* CTRL+W : ปิดหน้าต่างฐานข้อมูลปัจจุบัน
* CTRL+F6 : เปลี่ยนไปหน้าต่างฐานข้อมูลต่อไป
* CTRL+SHIFT+F6 : เปลี่ยนไปหน้าต่างฐานข้อมูลก่อนหน้า
* TAB : ย้ายไปที่ตัวเลือก หรือกลุ่มตัวเลือกต่อไป
* SHIFT+TAB : ย้ายไปที่ตัวเลือก หรือกลุ่มตัวเลือกก่อนหน้า
* SPACEBAR : สั่งประมวลผลบนปุ่ม ในขณะที่อยู่ที่ปุ่มนั้นๆ
* ALT+ แป้นตัวอักษร : เลือกตัวเลือก หรือจากกล่องกาเครื่องหมายตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อตัวเลือก
* ESC : ยกเลิกคำสั่งและปิดกล่องข้อความ
* HOME : ย้ายไปที่ตอนต้นของรายการ
* END : ย้ายไปที่ตอนท้ายของรายการ
* ลูกศรซ้าย หรือ ลูกศรขวา : ย้ายไปทางซ้าย หรือขวาหนึ่งอักขระ
* CTRL+ลูกศรซ้าย หรือ CTRL+ลูกศรขวา : ย้ายไปทางซ้าย หรือขวาหนึ่งคำ
* SHIFT+HOME : เลือกจากจุดแทรกไปที่ตอนต้นของรายการ
* SHIFT+END : เลือกจากจุดแทรกไปที่ตอนท้ายของรายการ
* SHIFT+ลูกศรซ้าย : เลือก หรือยกเลิกการเลือกหนึ่งอักขระไปทางซ้าย
* SHIFT+ลูกศรขวา : เลือก หรือยกเลิกการเลือกหนึ่งอักขระไปทางขวา
* CTRL+SHIFT+ลูกศรซ้าย : เลือก หรือยกเลิกการเลือกหนึ่งคำไปทางซ้าย
* CTRL+SHIFT+ลูกศรขวา : เลือก หรือยกเลิกการเลือกหนึ่งคำไปทางขวา

ารเลื่อนไปมาระหว่าง RECORD

* TAB : ย้ายไป Field ต่อไป
* SHIFT+TAB : ย้ายไป Field ก่อนหน้า
* END : ย้ายไป Field สุดท้าย
* CTRL+END : ย้ายไป Field สุดท้าย ของ RECORD สุดท้าย
* HOME : ย้ายไป Field แรก
* CTRL+HOME : ย้ายไป Field แรก และ Record แรก
* CTRL+PAGE DOWN : ย้ายไป Record ถัดไปที่ Field เดิม
* CTRL+PAGE UP : ย้ายไป Record ก่อนหน้าที่ Field เดิม
* F6 : ย้ายไปส่วนต่างๆของ FORM เช่น Header Detail ( ข้อมูล ) และ Footer
* SHIFT+F6 : คล้าย F6 แต่เป็นการย้ายกลับ
* SHIFT+TAB : เข้าไปใน SubForm
* CTRL+TAB : ออกจาก SubForm


ารใช้งาน COMBO BOX

* F4 or ALT+DOWN ARROW : บังคับให้ Combo Box เปิด
* F9 : บังคับให้ข้อมูลใน Combo Box เปลี่ยนแปลงตามข้อมูลปัจจุบัน
* DOWN ARROW : ย้ายไปบรรทัดถัดไป
* PAGE DOWN : ย้ายไปหน้าถัดไป
* UP ARROW : ย้ายไปบรรทัดก่อนหน้า
* PAGE UP : ย้ายไปหน้าก่อนหน้า
* TAB : ออกจาก ComboBox


ารบันทึก คัดลอก

* CTRL+C : Copy ข้อมูลที่กำลังเลือก แล้วเก็บไว้ใน clipboard
* CTRL+X : ลบข้อมูลที่กำลังเลือก แล้วเก็บไว้ใน clipboard(Cut)
* CTRL+V : ย้ายข้อมูลที่คัดไว้ใน clipboard มา(Paste)
* BACKSPACE : ลบข้อมูล ตัวก่อนหน้า
* DEL : ลบข้อมูล

ารบันทึกแก้ไข .........

* CTRL+Z or ALT+BACKSPACE : Undo ( เรียกการแก้ไขครั้งสุดท้ายคืนมา )
* ESC : ยกเลิกการแก้ไขที่กำลังพิมพ์อยู่
* CTRL+SEMICOLON (;) : ใส่วันที่ปัจจุบัน
* CTRL+COLON (:) : ใส่เวลาปัจจุบัน
* CTRL+ALT+SPACEBAR : ใส่ค่า Default ของ Field
* CTRL+APOSTROPHE (') : คัดลอกข้อมูลจาก Record ก่อนหน้ามาลงใน Field ปัจจุบัน
* CTRL+PLUS SIGN (+) : เพิ่ม Record
* CTRL+MINUS SIGN (-) : ลบ Record ปัจจุบัน
* SHIFT+ENTER : Save Record ปัจจุบัน
* SPACEBAR : Switch ค่าใน checkbox
* CTRL+ENTER : ขึ้นบรรทัดใหม่
* F9 : คำนวณค่าที่อยู่บนจอใหม่
* SHIFT+F9 : บังคับให้มีการอ่านข้อมูลใหม่อีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Pladao Office


ออฟฟิศ
คือ ชุดโปรแกรมสำนักงานที่รองรับการทำงานกับเอกสารภาษาไทย สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และมีโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) สร้างตารางคำนวณ (Spreadsheet) นำเสนองาน (Presentation) วาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing) และโปรแกรมสมการคณิตศาสตร์ (Equation) ใช้ได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการหลัก คือ Solaris, Linux, หรือ Windows นอกจากนี้ ปลาดาวมีคุณสมบัติการใช้งานเอกสารที่มาจากต่างระบบกันได้ (cross platform) ตัวอย่างจากการทดลองการใช้งาน ปลาดาวสามารถเปิดเอกสารที่สร้างขึ้นจาก Microsoft Excel หรือ Microsoft Word ขึ้นมาใช้ปรับปรุงแก้ไขได้



ปรแกรมหลักๆ ของปลาดาว ออฟฟิศมีดังนี้

1. Writer เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Word
2. Calc เป็นโปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Excel
3. Impress เป็นโปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft PowerPoint
4. Draw เป็นโปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing)
5. Math เป็นโปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ (Equation)


ดยมีคุณสมบัติพื้นฐาน ดังนี้

1. ความสามารถในการตัดคำ เมื่อสิ้นสุดบรรทัด
2. ความสามารถในการจัดเรียงคำภาษาไทยตามพจนานุกรม
3. ความสามารถในการค้นหาคำภาษาไทย
4. สนับสนุนฟอนต์ภาษาไทยแบบ True Type จำนวน 5 ฟอนต์
5. จัดระดับวรรณยุกต์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องมามาตรฐานภาษาไทย บนทุกๆ แพลตฟอร์ม
6. ทุกๆ ไดอะล็อก และเมนู จะถูกแสดงผลให้เป็นภาษาไทย7. Thai Date/Time format กำหนดมาตรฐาน Thai


ปลาดาวออฟฟิศจึงเป็นทางออกของผู้ใช้ซอฟต์แวร์ออฟฟิศในภาวะคุมเข้มของกฎหมาย ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในเมืองไทย ด้วยความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ และมีโปรแกรมหลักหลาย ตัวที่มีคุณลักษณะคล้ายกับโปรแกรมสำนักงานอย่าง Microsoft Office และสามารถดาวน์โหลดได้ ฟรีพร้อมกับติดตั้งได้ทุกเครื่องทุกแพลตฟอร์ม




การพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์


cpu Intel
ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูสำหรับเครื่องพีซีรายใหญ่ที่สุดของโลกและได้รับความนิยมแพร่หลาย ปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพนั้นก็คือ ความเร็ว ซึ่งไม่อาจดูที่กิกะเฮิร์ตซ์เพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป เพราะปัจจุบันเข้าสู่ช่วงเวลาของ Multi Core กันแล้วโดย Intel ได้ออกซีพียู 2และ4 Core ออกมาหลายรุ่นแล้ว

cpu AMD
ปัจจุบันถ้าพูดถึงประสิทธิภาพของซีพียูแล้ว AMD เองก็ไม่ยิ่งหยอนไปกว่าซีพียูที่มาจาก Intel เลย การเลือกซื้อซีพียูของ AMD ก็ทำได้ง่ายแค่ดูที่ตัวเลข model ของรุ่นเท่านั้นก็เปรียบเทียบประสิทธิภาพได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องสนว่าเป็น Sempron หรือ Athlonแต่ชื่อรุ่นก็ช่วยในการเลือกในภาพรวมๆได้เป็นอย่างดี


เลือก Intel หรือ AMD
สรุปง่ายๆคือไห้เลือก AMD ถ้าต้องการต้องการประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และเลือก Intel ถ้าสนใจเรื่องยี่ห้อหรือไม่ไห้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ


การซื้อซีพียูแบบ Tray กับแบบ box อย่างไหนดีกว่า
แบบ Tray เป็นซีพียูที่ถูกนำมาโดยปราศจากกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ห่อหุ่ม มีราคาต่ำกว่า
ข้อดีคือ ราคาถูก ต้องหาซื้อพัดลมระบายความร้อนเอง
ข้อเสียคือ โอกาศได้ชิ้นส่วนที่มีปัญหา ไม่มีพัดลม ระยะเวลาการรับประกันไม่เกิน1ปี
แบบ Box เป็นซีพียูที่นำเข้ามาอย่างถูกต้องแต่ละชิ้นบรรจุอยู่ภายในกล่องอย่างมิดชิด มีตราสัญญาลักษณ์บอกยี่ห้อเรียบร้อย
ข้อดีคือ มั่นใจได้ว่าได้ชิ้นส่วนที่สมบูรณ์ มีพัดลมระบายอากาศ ระยะเวลาประกัน3ปี
ข้อเสียคือ ราคาแพงกว่าแบบ Tray


การเลือกซื้อชุดระบายความร้อนไห้เข้าซีพียู
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงซึ่งประกอบด้วย พัดลมระบายความร้อน และฮิตซิงค์ ก็คือวัสดุใช้ทำฮิตซิงค์ การออกแบบครีบระบายความร้อนความเร็วในการหมุนของพัดลมสิ่งสำคัญที่สุดคือรูปแบบที่ออกมาเพื่อใช้กับซีพียูและซ็อคเก็ตแบบใด แต่ละแบบไม่เหมือนกัน


การเลือกซื้อเมนบอร์ด
เมนบอร์ดถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดมีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ต้องเลือกไห้เข้ากับcpuได้


เลือกรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์ไห้เหมาะสมกับเคส
ส่วนใหญ่เคสที่ใช้มักจะเป็น Medium Tower ซึ่งใช้ได้กับเมนบอร์ดที่เป็น ATX และMicro ATX แต่ถ้าใช้เคสที่เล็กกว่านี้ก็ต้องใช้ Flex ATX หรือ Micro ATX เท่านั้น


การเลือกซิปเซ็ตที่เหมาะสมบนเมนบอร์ด
การเลือกซิปเซ็ตนั้นถือว่าสำคัญเพราะว่าซิปเซ็ตมีผลต่อทุกอย่างของเมนบอร์ด เป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดนี้ใช้กับซีพียูชนิดใดบ้าง รองรับหน่วยความจำชนิดใดบ้าง มีสล็อตประเภทใดบ้าง สำหรับผู้ที่ใช้ซีพียูของ Intel ก็มีซิปเว็ตของ Intel ในทุกช่วงราคาอยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ใช้ซีพียูของ AMD ก็ขอแนะนำซิปเซ็ตใหม่ในตระกูล ATI CrossFire Xpress ที่เป็นของ AMD เอง


การเลือซื้อหน่วยความจำ RAM
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการเลือกซื้อเนื่องจาก RAM เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานร่วมกับซีพียูตลอดเวลา ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
-ชนิดของแรม
-ขนาดความจุของแรม
-ความเร็วบัสของแรม
-การรับประกัน


การเลือกซื้อฮาร์ดดิส
ฮาร์ดดิสเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ปัจจุบันมีฮาร์ดดิสขายกันอยู่มากมายหลายยี่ห้อล้วนแต่เป็นที่นิยม ดังนั้นนอกจากปัจจัยเรื่องราคาและยี่ห้อแล้วนั้นคุณสมบัติและข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อมีดังนี้
-ความจุข้อมูล
-ความเร็วรอบในการหมุน
-อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิส
-ขนาดของบัฟเฟอร์
-การรับประกัน


การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล(VGA card)
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีอยู่หลายยี่ห้อ หลายราคา และหลากหลายประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไปเบื้องหลังความสำเร็จที่เเท้จริงของ ผู้ผลิตการ์ดแสดงผลมีอยู่2รายคือ nVidia ผู้ผลิต GeForce กับ ATI เป็นของ AMD คุณสมบัติต่างๆและข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
-ชิปประมวลผลกราฟิก
-อินเตอร์เฟสของการ์ด
-ชนิดและขนาดของหน่วยบนตัวการ์ด
-พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
-มาตฐานของ API ที่รับรอง


การเลือกซื้อการ์ดเสียง
คอมพิวเตอร์ถ้าหากมีรูปแต่ไม่มีเสียงก็ดูจะไม่ได้รับความบรรเทิงที่สมบูรณ์ ดังนั้นการเลือกซื้อนอกเหนือจากยี่ห้อและราคาแล้วควรคำนึงถึงปัจจัยและคุณสมบัติต่างๆด้วยคือ
-รูปแบบของการ์ดเสียง
-ลักษณะงานที่จะนำไปใช้
-คุณสมบัติเพิ่มเติม


การเลือกซื้อลำโพง
ลำโพงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการ์ดเสียง เป็นตัวแปรที่สำคัญมากเพื่อไห้ได้รับความบรรเทิงที่สมบูรณ์ คุณสมบัตต่างๆในการเลือกซื้อลำโพงคือ
-รูปแบบของลำโพง
-ลำโพงมัลติมีเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
-ชุดลำโพงพร้องซับวูเฟอร์
-ลำโพงมัลติมีเดียแบบดิจิตอล
-ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง


การเลือกซื้อไดรว์ซีดีรอม และไดรว์ดีวีดี
ไดรว์ดีวีดีอาร์ดับบลิว สามารถอ่านและเขียน บันทึกลงบนแผ่นได้หลักสำคัญในการเลือกซื้อมีดังนี้
-ความเร็ว ขนาดของบัฟเฟอร์
-คุณสมบัติของ Dual Format
-คุณสมบัติ Dual LayerหรือDouble Layer
-เทคโนโลยีที่ช่วยในการเขียนแผ่น


การเลือกซื้อจอภาพ
จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่จะต้องติดต่ออยู่ตลอดเวลาผ่านทางดวงตา หลักสำคัญหรือปัจจัยในการเลือกซื้อคือ
-ชนิดของจอภาพ
-ขนาดของจอภาพ
-ความละเอียดของการแสดงผล
-อัตราการรีเฟรช ระยะ Dot Pitch
-ความสว่างบนหน้าจอ
-ความคมชัดของภาพ
-ขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ


การเลือกซื้อการ์ดแลน
การ์ดเน็ตเวิร์กเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่อพีซีหลายๆเครื่องเข้าด้วยกันในระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กการพิจารณาในการเลือกซื้อการ์ดแลนคือ
-รูปแบบของการ์ดแลน
-อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล


การเลือกซื้อการ์ด Wirelrss LAN
เป็นเครือข่ายแบบไร้สายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูลโดยเครื่องที่ติดตั้งการ์ด Wirelrss LAN ไว้จะรับข้อมูลกับตัวรับที่เรียกว่า Access Point ที่ต่อด้วยสายแลนธรรมดากับเครื่องอื่นๆอีกทอดหนึ่ง คุณสมบัติในการเลือกซื้อคือ
-มาตรฐานและอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใช้


การเลือกซื้อโมเด็ม ADSL
Modem เป็นอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารข้อมูล ทั้งเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รับส่งแฟกซ์ และอื่นๆคุณสมบัติในการเลือซื้อคือ
-รูปแบบของModem
-มาตฐานความเร็วที่ใช้


การเลือกซื้อเคสและพาเวอร์ซัพพลาย
การเลือกซื้อเคส

-เลือกเคสที่ภายในดูโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้ดี
-การออกแบบฝาเคสที่สามารถเปิด/ปิดได้ง่าย
-ช่องเสียบอุปกรณ์จำพวกไดรว์ต่างๆควรออกมาดี
-มีพอร์ตต่างๆเพิ่มเติมไห้ที่ด้านหน้า
-เพาเวอร์ซัพพลายที่ติดตั้งมาควรมีกำลังไฟที่เพียงพอ
-เลือกเคสทีใช้วัสดุด้วยพลาสติกและมีโครงสร้างแข็งแรง
การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย
-เลือกไห้ถูกชนิด เหมาะสม
-สามารถจ่ายไฟไห้เพียงพอต่ออุปกรณืต่างๆ


การเลือกซื้อ UPS
การเลือก UPS จะมีในเรื่องขนาด ซึ่งต้องสัมพันธ์กับเครื่องซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ500-800VA แต่ถ้าเกิดปัญหาบ่อยควรเลือกประเภทจ่ายไฟได้1KVAหรือ1000VA


การเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์
คุณสมบัติต่างๆในการเลือกซื้อ
-ประเภทไห้เหมาะสมกับลักญณะของงานที่ใช้
-ความละเอียดในการพิมพ์
-ความเร็วในการพิม
-ขนาดของบัฟเฟอร์
-ราคาหมึกพิมพ์


การเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์
คุณสมบัติต่างๆในการเลือกซื้อ
-ความละเอียดในการสแกนภาพ


ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์ตามแหล่งต่างๆมาประกอบเอง
-ตรวจเช็คราคาของอุปกรณ์จากร้านต่างๆก่อนเสมอ
-เลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่มีประกันเท่านั้น
-ควรศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
-พยายามเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ
-ไม่ควรเลือกซื้อสินค้าด้วยราคาที่ถูกเสมอไป


แนะนำแหล่งขายอุปกรณ์คอมที่น่าสนใจ
กลุ่มที่เน้นด้านชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆและรับสั่งประกอบเครื่อง
-ห้างพันธุ์ทิพย์
-ฟอร์จูน
-เสรีเซ็นเตอร์
-เชียร์รังสิต
-ตะวันบางกะปิ
กลุ่มที่เน้นด้านการขายคอมแบบยี่ห้อและอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
-ห้างไอทีซิตี้
-ห้างไอทีมอลล์

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เปคเครื่องคอมพิวเตอร์



Brand : ACER
Model : Veriton S661
Processor Type : INTEL
Processor Speed : 2.33 GHz
Memory Type : DDR2-667 up to 8 GB
Ram (MB) : 2x1 GB
Hard Drive Capacity (GB) : 160
Hard Drive Interface : SATA
Monitor Manufacturer : ACER
Monitor Type : LCD
Monitor Size (inch) : 17
VGA Type : Integrated Intel Graphics Media Accelerator 3100
Network Type : Gigabit Ethernet LAN on Board
Optical Drive : DVD-RW 16X SuperMulti Function
Audio : Embedded High Definition Audio Codes 7.1
Surround Sound Ready
Connector Interface : 10 USB 2.0 ports (4 Front 6 Rear) , One 16X PCI
Express Slot used, 2PCI Slot
Operating System : Windows Vista Business
Features : Acer Empowering Technology, security: Norton
AntiVirus CD (OEM), offcesuite: ASM Software
Management
Price (Baht) : 32XXX

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Bandwidth

Bandwidth หมายถึง ความจุข้อมูลของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมี Bandwidth มากกว่า เป็น 10 เท่า หน่วยวัดของ Bandwidth คือ Bits per second หรือ บิตต่อวินาที เราสามารเปรียบเทียบขนาดของ Bandwidth ได้กับ ความกว้างของท่อส่งน้ำ ,จำนวนถนนที่สามารถให้รถยนต์วิ่งผ่านไปได้ ,ปริมาณ/ขนาดของแถบสัญญาณเสียง เป็นต้น
ความสำคัญของ Bandwidth
Bandwidth เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรับส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่าย
Bandwidth ที่ดีจะต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ และรับส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่ดี ดังนั้น Bandwidth จึงมีขีดจำกัดโดยขึ้นอยู่กับชนิดสื่อที่เลือกใช้เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล
Bandwidth มีมูลค่าและสามารถประเมินค่าออกมาเป็นเงินได้
Bandwidth เป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย
Bandwidth เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการออกแบบเครือข่าย
Bandwidth ช่วยสร้างความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และยุคของสารสนเทศ ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ ที่สำคัญสามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

แรม (RAM)

RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module
เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น


SDRAM


อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน

DDR - RAM
หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ
ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน


Rambus

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว
แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM


สัญญาณนาฬิกา

DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X
หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้

การเรียกชื่อ RAM

Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้นสามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 266 = 2100)

อนาคตของ RAM

บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAM
แนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่นกัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด

คุณสมบัติที่แตกต่างกัน ระหว่าง SRAM กับ DRAM คือ SRAM
มีราคาสูงกว่า เนื่องจาก SRAM มี ความเร็วสูงกว่า DRAM การใช้งาน RAM นั้น ต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา และนอกจากไฟเลี้ยงแล้ว DRAM ยังต้องการ การ Refresh ข้อมูลเป็นระยะๆ เสมือนการเตือนความทรงจำ ซึ่ง ผิดกับ SRAM ที่ไม่ต้องมีการ Refresh เนื่องจาก DRAM ซึ่งทำมาจาก MOSใช้หลักการ ของตัวเก็บประจุ มาเก็บข้อมูล เมื่อเวลาผ่านไป ประจุจะค่อยๆรั่วออก ทำให้ต้องมีการ Refresh ประจุตลอดเวลาการใช้งาน ส่วน SRAM ซึ่งทำมาจาก Flip-Flop นั้น ไม่จำเป็นต้องมีการ Refresh แต่ SRAM จะกินไฟมากกว่า DRAM อันเนื่องจากการใช้ Flip-Flop นั่นเอง

แหล่งที่มาhttp://www.bcoms.net/hardware/ram.asp
http://www.geocities.com/tanongsak_tit/ram.html

CPU

CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit คือ หน่วยประมวลผลกลาง ตามที่พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์เอาไว้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) CPU มีลักษณะเป็นชิปตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า CPU จะทำหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปแล้ว CPU จะไปอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ


CPU INTEL

อินเทล (Inter Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนถึง Celeron Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II ,Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Editionที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางเรื่อยมา ซีพียูรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล (Inter) มีดังนี้
1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal
1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ
1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง
1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว
1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้
1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัวรุ่นแรกๆ ทาง Intel ใช้ชื่อรุ่นเป็นรุ่นของ CPU นั้นๆเลยจึงเกิดการเลียนแบบเทคโนโลยีกันขึ้นโดยค่ายอื่นได้ผลิตเทคโนโลยีตามหลังIntelมาเรื่อยๆ ต่อมาทาง Intel ได้ใช้ชื่อ Pentium แทน 80486 เนื่องจากการที่ ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลขกฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Platform ต่างๆ
1993 : Pentium Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium
1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station โดยต่อมาได้ผลิตเทคโนโลยี MMX และทำเป็น Intel MMX
1997 : Pentium II Processor รวมเ Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บนpackage เดียวกับ CPU กับ Technology MMX ไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน
1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มาก แต่ถึงแม้ Celeron ที่ออกมานั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้แย่กว่า หรือพอพอกับ Pentium MMX
1999 : Pentium III Processor เพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยประมวลผลในด้านต่างๆไปใหม่ ในลักษณะของ MMX
1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
2001 : Pentium 4 Processor มีเทคโนโลยี HT ทำให้การใช้งานทีละหลายโปรแกรมได้ดีขึ้น
2003 : Pentium M ส่วนใหญ่ใช้ใน mobile technology เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าน้อย
2005 : Pentium D มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Multi-core เพิ่มเข้ามาโดยมี2 coreแต่ละ core จะเป็นอิสระต่อกัน
2006 : Intel Core duo นี่แหละครับพระเอกของเราต่างกับ Pentium D ตรงที่มีการแชร์ 2 core ด้วยกัน(dual core)
2006 : Intel Core 2 Duo รองรับชุดคำสั่ง 64 bit และยังประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย2006 : Intel Core 2 Extreme QX6700 คือ มี 4 core


CPU AMD
เอเอ็มดี (Advanced Micro Devices) นับเป็นคู่แข่งสำคัญของอินเทล ซึ่งได้พัฒนาซีพียูรุ่นต่างๆ ของตนเองออกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยุค K5, K6 (K6-2/K6-III), K7 (Athlon/Duron/Athlon XP) เรื่อยมา ก่อนี่จะก้าวเข้าสู่ยุคของซีพียูในตระกูล K8 ที่ได้ปรับโครงสร้างภายในใหม่ โดยได้ย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Integrated Memory Controller) ซึ่งช่วยให้การติดต่อหรือรับส่งข้อมูลกันระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมๆ กับสนับสนุนการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยเทคโนโลยี AMD64 อย่าง Sempron, Athlon64 และ Athlon 64 FX รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core กลุ่มแรกอย่าง Athlon 64 X2 และ Athlon 64 FX ด้วย ก่อนจะข้ามมาสู่ยุค K10 ซึ่งเป็นซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core ขนานแท้ อย่าง Athlon X2, Phenom X3, Phenom X4 และ Phenom FX เป็นต้น
K5
หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100 .. ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz
K6 เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหนายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน
K6-2 เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เช่นเดิม เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6 เดิม เพียงแต่ได้มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผล ด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า 3DNow! เข้าไว้ด้วย โดย CPU รุ่นนี้ ยังคงใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard เช่นเคย ทำงานที่ความเร็วเท่าๆ กับ FSB และมีขนาดตั้งแต่ 512K จนถึง 2MB มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงระดับความเร็ว 550 MHz แล้ว
Sharptooth (K6-III) ก็เป็นรุ่นที่มีการพัฒนาต่อจาก K6-2 อีกทีหนึ่ง โดยมาคราวนี้ ทาง AMD ได้จัดการเอา Cache ระดับ 2 รวมเข้าไว้ในตัว CPU เลย ด้วยขนาด 256 K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และยังคงใช้ได้กับ Interface แบบ Socket 7 เดิม เพราะฉะนั้นจึงมอง Cache ที่อยู่บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ( ซึ่ง K6-2 นั้นมองว่าเป็น Cache ระดับ 2 ) ไปโดยปริยาย ... ออกสู่ท้องตลาดเมื่อกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1999 มีออกมาจำหน่ายเพียง 2 รุ่น คือ 400 และ 450 MHz ... และปัจจุบัน ได้ยกเลิกสายการผลิต CPU Sharptooth นี้แล้ว
K6-2+ จะเป็น CPU ที่ใช้งานบน Socket 7 ตัวสุดท้ายของทาง AMD โดยจะเป็น CPU ที่มีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายๆ กับเจ้า Sharptooth ที่ยกเลิกสายการผลิตไป เพียงแต่ว่า มีขนาดของ Cache ระดับ 2 เหลือเพียง 128K เท่านั้น และ CPU รุ่นนี้ จะเป็น CPU ที่ใช้ Socket 7 ตัวแรกด้วยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 533 MHz คาดว่าจะเปิดตัวในราวๆ ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... สำหรับ CPU รุ่นนี้ บางแหล่งข่าวก็บอกว่าจะมีเฉพาะรุ่นทีใช้กับ Mobile PC เท่านั้น แต่บางแหล่ง ก็บอกว่ามีทั้ง 2 แบบเลย คือรุ่นที่ใช้กับ Mobile PC และรุ่นที่ใช้กับ Desktop PC ...
K6-III+ เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III เดิม เพราะรายละเอียดแทบทุกอย่างจะเหมือนเดิมทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ส่วนที่เหลือ ก็คือี Cache ระดับ 2 มีขนาดเป็น 2 เท่าของ K6-2+ คือ 256K และที่สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ สำหรับ Mobile PC นั้น จะมีคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า PowerNow! หรือเดิมชื่อ Gemini ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel
K7 / Athlon เป็น CPU ตัวแรกของทาง AMD ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมของตัวเองทั้งสิ้น เพื่อแย้งข้อครหาที่ว่าพัฒนา CPU ตามหลัง Intel มาตลอด โดยเจ้า Athlon นี้ เป็น CPU ที่มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากที่สุดในท้องตลาดปัจจุบันนี้ นั่นก็คือ 128 K ( Instruction 64K และ Data 64K ) มี Cache ระดับ 2 อยู่ใน Package เดียวกันกับ CPU ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่ง และ 2/5 ของความเร็วของ CPU ... มีการนำเอาระบบบัสที่ใช้กับ Processor Alpha มาใช้ กับ Athlon ด้วย คือ EV6 Bus ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว ก็สามารถสร้าง Mainboard ให้รองรับ Processor ทั้ง 2 แบบนี้ได้เลยละครับ คือทั้ง Alpha และ Athlon ใช้งานบนบัสของระบบที่ 100 MHz แต่ด้วยคุณสมบัติของ EV6 Bus ก็จะทำให้ระบบบัสภายในของ CPU นั้นเป็นเท่าตัวของบัสของระบบ คือเป็น 200 MHz และคาดว่าต่อไปน่าจะทำได้สูงถึง 400 MHz หรือมากกว่านี้อีกด้วย Athlon นี้จะมาพร้อมๆ กับชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! รุ่นพัฒนา ( เรียกว่า Enhance 3DNow! ) ใช้งานบน Interface ใหม่ของทาง AMD เอง เรียกว่า Slot-A มีความเร็วเริ่มต้นที่ 500 MHz
Argon เป็นชื่อ Codename ของสถาปัตยกรรมแกนหลักของ Athlon
Thunderbird (Athlon) หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K และเจ้า Thunderbird นี้ จะเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่ใช้งานบน Slot-A โดยรุ่นแรกๆ นั้นจะยังคงใช้งานบน Slot-A แต่รุ่นต่อๆ มาจะหันไปใช้งานบน Socket A ซึ่งเป็น Interface ใหม่ของทาง AMD .. เปิดตัวรุ่นตัวอย่างเป็นครั้งแรกที่งาน ISSCC'2000 ( International Solid-State Circuits Conference ) ที่จัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ด้วยความเร็วที่นำมาแสดง คือ 1.1 GHz และคาดว่าจะเริ่มการจำหน่ายจริงๆ ในราวไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... จากข้อมูลล่าสุด พบว่าในรุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะมี Cache ระดับ 2 เพียง 256K และมี Cache ระดับ 1 ที่ขนาด 128K ... Thunderbird นี้ จะมีทั้งรุ่นที่ใช้งานกับ Slot-A และกับ Socket A ครับ
Palomino (Athlon) Athlon รุ่นใหม่ ( Socket A ) ที่ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Copper Interconnect ) แต่จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz เลยทีเดียว และหันมาใช้ FSB เป็น 266 MHz ( DDR ) นอกจากนี้ ก็ยังได้พัฒนา และ ปรับปรุงขึ้น จาก Thunderbird อีกมากมาย ทั้งเรื่องของ Branch Prediction หรือเรื่องของความร้อนในขณะทำงาน ที่ลดน้อยลงกว่าเดิม หรือเรื่องของ Hardware Prefetch นอกจากนี้ก็ยังได้ทำการ Optimize ในส่วนของแกนหลัก ทั้งพัฒนาในส่วนของ FPU ( หน่วยประมวลผลเชิงทศนิยม ) และ ALU ( หน่วยประมวลผลเชิงตรรก ) อีกด้วย.. คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิต ในต้นปีค.ศ. 2002 และเริ่มจำหน่ายจริง ในไตรมาสถัดไป แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจมากๆ ก็คงไม่พ้นข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับทาง AMD ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า เจ้า Palomino นี้ จะเป็น CPU ของ AMD ตัวแรก ที่เอาชุดคำสั่งของ Intel SSE หรือ Streaming SIMD Extension ( Katmai ) มาใช้ โดยที่เราๆ ท่านๆ ก็ได้ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าชุดคำสั่งดังกล่าว เป็นชุดคำสั่งที่ทาง Intel ได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว ถ้า AMD จะมาใช้ก็ต้องเสียค่าหัวคิวให้กับทาง Intel ... แล้ว AMD นั้น เป็นคู่แข่งกับ Intel ... อย่างนี้ ก็ยิ่งน่าสนใจนะค่ะ
Thoroughbred (Athlon) Athlon ในรุ่นถัดจาก Palomino ( Socket A ) ที่ลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.13 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายในเช่นเดิม ( Copper Interconnect ) และมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 1.73 GHz เริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิตในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ ผลิตเป็น Production จริงๆ ในไตรมาสแรก ในปี ค.ศ. 2002
Barton (Athlon) Barton นี้ เป็น Athlon ในรุ่นถัดจาก Thoroughbred จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.13 ไมครอน พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ SOI ( Silicon On Inulator ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีก
Spitfire (Duron) เป็น Athlon รุ่น Socket เพราะใช้งานบน Socket A ( Socket-462 ) เท่านั้น แต่เป็นรุ่นราคาต่ำ เพราะมีขนาดของ Cache ระดับ 2 ที่น้อยกว่า Thunderbird เหลือประมาณครึ่งหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เช่นเคย คาดว่าจะมีจำหน่ายในราว ปลายๆมาสแรก หรือต้นๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้เช่นกัน ทั้ง Spitfire และ Thunderbird ในรุ่นแรกนี้ ยังคงผลิตด้วย Aluminium และยังคงใช้ Aluminium สำหรับทำหน้าที่เป็นตัว Interconnect ด้วย แต่ Thunderbird รุ่นใหม่ที่จะหันไปใช้งานบน Socket A นั้น จะใช้ Copper ( ทองแดง ) เป็นตัวต่อเชื่อมภายในที่เรียกว่า Copper-Interconnect แล้วละครับ
Duron ก็คือ Spitfire นั่นเองละครับ เพียงแต่ ทาง AMD นั้น พอถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการจริงๆ ก็กลับใช้ชื่อนี้ เป็นชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการแทนนั่นเอง
Morgan (Duron) Duron ใน Generation ที่ 2 ( Socket A )... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 900 MHz ยังคงใช้ เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ยังคงมี Cache ระดับ 1 ขนาด 128KB และ Cache ระดับ 2 ขนาด 64 KB แต่อาจปรับไปใช้ FSB 266 MHz ( DDR ) แทน คือ ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกันกับ Palomino นั่นเอง แต่จุดต่างกันอีกจุดหนึ่ง ก็คือยังคงใช้อลูมิเนี่ยมเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Aluminum Interconnect ) เช่นเดิม เริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตในไตรมาสแรกของปีค.ศ. 2002 และเริ่มส่งจำหน่ายจริงในไตรมาสถัดไป
Appoloosa (Duron) Duron ใน Generation ที่ 3 ( Socket A ) ... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 1 GHz และหันมาใช้เทคโนโลยีการผลิตลดลงด้วยขนาด 0.13 ไมครอน และใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกับ Athlon Throughbred ต่างกันแค่ขนาดของ Cache ระดับ 2 เท่านั้นละครับ คาดว่าจะเริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตหลังจาก Morgan ไม่นาน ( น่าจะเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีค.ศ. 2002 ) และ เริ่มจำหน่าย ในไตรมาสถัดไป
Mustang หรือ "Athlon Ultra" จะเป็น Athlon ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานระดับ Server/Workstation ใช้ Copper ในการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีขนาดของ Cache On-Chip ระดับ 2 ตั้งแต่ 1-2 MB เลยทีเดียว ใช้งานบนระบบ Bus แบบ DDR FSB 133 MHz ( ก็จะเหมือนว่าทำงานด้วย Bus 266 MHz ละครับ ) และรองรับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM 400 MHz ที่ใช้ช่องความกว้างของ Bandwidth ถึง 2.1 GB เลยทีเดียว .. และเหมือนๆ กับ Thunderbird คือ รุ่นแรกจะใช้งานบน Slot-A และรุ่นต่อมาจะย้ายมาใช้ Socket A แทน เดิมทีคาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2000 ... แต่ปัจจุบัน ได้ถูกทาง AMD เขี่ยออกจาก Roadmap ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วละค่ะ
SledgeHammer หรือ K8 ... CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 ... เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor... นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้งานระบบบัสแบบใหม่ ที่เรียกว่า Lighting Data Transport หรือ LDT ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ EV6 และ/หรือ EV7 Bus ผนวกกับ เทคโนโลยี SOI หรือ Silicon On Inulator ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีกไม่น้อย คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างทดสอบในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2002 และเริ่มผลิตเป็น Production ในไตรมาสถัดไป
ClawHammer CPU 64 Bit ( x86-64 ) ในตระกูลเดียวกันกับ SledgeHammer หากแต่เป็นรุ่นเล็กกว่า เนื่องจากลดขนาดของ Cache ภายใน และลดปริมาณการรองรับการใช้งานแบบ Multi Processor เหลือเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทาง เท่านั้น (1-2 way) แต่รายละเอียดอย่างอื่น ก็จะเหมือนๆ กับ SledgeHammer ... ตัวนี้ ทาง AMD หมายจะเน้นมาใช้งานในตลาด Desktop PC ละค่ะ ... จะเริ่มสุ่มตัวอย่างทดสอบในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ จะเริ่มผลิตเป็น Production ในราวต้นปี หรือในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2001 นอกจากนี้ ยังมีข่าวอีกว่า ทาง AMD วางแผนจะใช้ชุดคำสั่ง SSE2 ที่เพิ่มเข้ามาใน Pentium4 อีก 144 คำสั่ง มาใช้อีกด้วย แต่ว่า จะใช้กับ CPU ในตระกูล Hammer ทั้งหลาย ได้แก่ ClawHammer และ SledgeHammer อีกด้วยละครับ
แหล่งที่มาhttp://www.thai-amdclub.com